วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างแผนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นม. 1

เทอม ที่ 1


คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาวิเคราะห์ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ในร่างกายสัตว์และมนุษย์ การ
เจริญเติบโตของสัตว์และมนุษย์ อาหาร ความสำคัญของอาหารต่อเพศและวัย สารในสิ่งเสพติด ธาตุ
และสารประกอบ การเปลี่ยนแปลงของสาร การเกิดสารละลาย การเปลี่ยนสถานะ การเกิดปฏิกิริยา
เคมี ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน และผลของปฏิกิริยาเคมีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม


หน่วยการเรียนรู้

บทที่ 1 หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช

1. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

2. ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

3. การลำเลียงในพืช การแพร่และการออสโมซิส

4. การสืบพันธุ์ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

5. การสังเคราะห์ด้วยแสง

6. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชในท้องถิ่น


บทที่ 2 สารในชีวิตประจำวัน

1. ความหมายและสมบัติของสาร

2. ประเภทของสารและการจำแนกประเภท

3. การแยกสารเนื้อผสมและสารเนื้อเดียว

4. การแยกสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


บทที่ 3 สารละลาย

1. ความหมายและองค์ประกอบของสารละลาย

2. ความเข้มข้นของสารละลาย

3. สมบัติการเป็นกรด-เบสของสารละลาย

4. สารที่ใช้ในการทำความสะอาด

5. ความปลอดภัยในการใช้สารในชีวิตประจำวัน


จุดประสงค์

1.เขียนภาพโครงสร้างและอธิบายการทำงานของระบบย่อยอาหารระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อของมนุษย์และสัตว์บางชนิด
2.สามารถอธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่าง ๆ ที่ทำให้มนุษย์และสัตว์มีการเจริญเติบโตและนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
3.วิเคราะห์และอธิบายพฤติกรรมบางอย่างของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
4. สามารถค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการแพทย์
5.ปฏิบัติการทดลองสารอาหารบางประเภทในอาหารอธิบายความสำคัญของสารอาหารที่มีต่อ
ร่างกายและเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วน เหมาะสมกับเพศและวัย
6.สามารถอธิบายผลของสารเสพติดต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เสนอแนะและ
รณรงค์การป้องกันและต่อต้านสารเสพติด
7.สามารถอธิบายความแตกต่างของสมบัติของสารทั้งหมดสถานะจากการจัดเรียงและการ
การเคลื่อนไหวของอนุภาคของสาร
8.สามารถตรวจสอบสมบัติของธาตุ สารประกอบและธาตุกัมมันตรังสี อธิบายและยกตัวอย่าง
การนำธาตุสารประกอบและธาตุกัมมันตรังสีไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
9.ปฏิบัติการทดลอง และอธิบายสมบัติของธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะได้
10.ปฏิบัติการทดลอง และอธิบายสมบัติของสารเกี่ยวจุดเดือด จุดหลอมเหลว การละลายน้ำ
และการละลายในตัวทำลายอื่น
11.ปฏิบัติการทดลอง และอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมี
12.ปฏิบัติการทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน อุณหภูมิกับการเปลี่ยนสถานะ
ของสารการละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
13.ปฏิบัติการทดลองและอธิบายปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของสารได้
14.สามารถอธิบายการเกิดปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับออกซิเจน โลหะกับน้ำ โลหะกับกรด
กรดกับเบส และกรดกับคาร์บอเนต เขียนสมการเคมี และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
15.สามารถนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันการสึกกร่อนของโลหะและวัสดุคาร์บอเนตระบุสารเคมี
ในผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดเลือกใช้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและคุ้มค่า
16.สามารถอธิบายและยกตัวอย่างการใช้สารเคมีในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งเสนอแนะ
แนวทางในการป้องกันแก้ไข





เทอมที่ 2



คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาเรื่อง งานและพลังงาน การถ่ายโอนความร้อน การขยายตัวของวัตถุ การดูดกลือนแสงและการคายความร้อน แรง แรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ ส่วนประกอบและการแบ่งชั้น บรรยากาศ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความกดอากาศ ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ การพยากรณ์อากาศ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม


หน่วยการเรียนรู้

บทที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่

1. แรง ปริมาณสเกลาร์ และปริมาณเวกเตอร์

2. ชนิดของแรง

3. โมเมนตัมของแรง

4. ความหมายของการเคลื่อนที่ และแบบของการเคลื่อนที่


บทที่ 2 งานและพลังงาน

1. งานกับการคำนวณเกี่ยวกับงาน

2. พลังงานและการเปลี่ยนรูปของพลังงาน

3. พลังงานความร้อน

4. การใช้และการอนุรักษ์พลังงาน


บทที่ 3 บรรยากาศ

1. ส่วนประกอบของอากาศ

2. อุณหภูมิของอากาศและชั้นบรรยกาศ

3. ความดันของอากาศและความชื้นของอากาศ

4. ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ

5. อุตุนิยมวิทยาและมลภาวะในชีวิตประจำวัน


จุดประสงค์

1.สามารถบอกเกี่ยวกับเวกเตอร์ของแรง และทดลองหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรง
2.ปฏิบัติการทดลอง และบอกผลของแรงลัพธ์ต่อการเคลื่อนที่ของวัตถ
3.ปฎิบัติการทดลอง และอธิบายเกี่ยวกับแรงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆในเชิงคุณภาพ
และเสนอแนวคิดการเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานเพื่อการใช้ประโยชน์
4. ปฎิบัติการทดลองและอธิบายเกี่ยวกับหลักการของโมเมนต์ของแรงในเชิงปริมาณและการ
วิเคราะห์และค านวณโมเมนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
5.ปฏิบัติการทดลอง และอธิบายเกี่ยวกับงาน พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ กฎการอนุรักษ
พลังงานและการนำไปใช้ประโยชน์
6.สามารถทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการดูดกลืนแสงและการคายความร้อนของวัตถุต่าง ๆ พร้อ
ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน
7.ปฏิบัติทดลองและอธิบายสมดุลความร้อน ผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุ และ
ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน
8. อธิบายองค์ประกอบ และการแบ่งชั้นบรรยากาศ การเกิดเมฆและชนิดของเมฆ การเกิดฝนและ
แสดงการวัดปริมาณน้ าฝน
9. สามารถวัดอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศในท้องถิ่น และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
อุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศได้ถูกต้อง
10.อธิบายการเกิดลมมรสุมต่าง ๆ พายุหมุนเขตร้อนและพายุฟ้าคะนองและผลต่อมนุษย์และ
สิ่งแวดล้อมเสนอแนะวิธีป้องกันปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ แปลความหมายการพยากรณ์อากาศได
11.เกิดเจตคติที่ดีและรักการเรียนวิทยาศาสตร์นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การวัดผลประเมินผล

1.รายงานผลการทดลอง 10 คะแนน
2.แบบฝึกหัดรายหัวข้อ ,ใบงาน 20 คะแนน
3.รายงานค้นคว้ารายหัวข้อ 10 คะแนน
4.สอบกลางภาค 20 คะแนน
5.สอบปลายภาค 30 คะแนน
6.จิตพิสัย 10 คะแนน


หนังสือประกอบการค้นคว้าเพิ่มเติม

เกษม ศรีพงษ์.ชีววิทยา.ฉบับรวม ม.4–5–6.กรุงเทพฯ ;ภูมิบัณฑิต ,2540.
เกษม ศรีพงษ์ .วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม .กรุงเทพ ฯ:ภูมิบัณฑิต ,2540.
จินดา อุดชาชน ,ผศ.และคณะผู้แปล.เคมี.กรุงเทพฯ ;นามีบุคส์ ,2543.
ชุติมา วิทยากุล .คู่มือวิทยาศาสตร์ม.1.นครปฐม :ฟิสิกส์เซนเตอร์ ,2540.
นิพนธ์ ตังคณานุวิทย์,รศ.ดร.คู่มือเคมีเล่ม 1.กรุงเทพ ฯ:ส านักพิมพ์แม็คจำกัด,2540.
พัชรี พิพัฒวรรณกุล .รวมหลักชีววิทยา .นครปฐม :ฟิสิกส์เซนเตอร์ ,2540.
เพ็ญศรี พวงศรี ,คุ่มือวิทยาศาสตร์ ม.1.กรุงเทพ ฯ :เดอะบุคส์จำกัด ,2539.
ยงสุข รัศมิมาศ,รศ.วิทยาศาสตร์1.กรุงเทพ ฯ:สำนักพิมพ์แม็คจำกัด,2543.
นพมาศ ชูวรเวช.อวัยวะที่สำคัญของร่ายกาย.กรุงเทพฯ ;ต้นอ้อแกรมมี,2540.
ปรียา กุลละวณิชย์และคณะผู้แปล.พื้นฐานแห่งกายมนุษย์ .กรุงเทพฯ ;รีดเดอร์สไดเจสท์,2540.
มานี จันทวิมล.สนุกกับเคมี .กรุงเทพฯ ;นามีบุคส์ ,2543.
มีนา โอวรารินทร์.ผู้แปล.ร่างกาย .กรุงเทพ ฯ ;นามีบุคส์,2543.
เรืองศักดิ์ ศิริผล.มหัศจรรย์แห่งร่ายกาย .กรุงเทพฯ ;นามีบุคส์ ,2543.
ธนพรรณ ชาลี.ผู้แปล กล้ามเนื้อและกระดูก .กรุงเทพฯ ;นามีบุคส์ ,2540.
ธนพรรณ ชาลี.ผู้แปล ร่างกายของเรา .กรุงเทพฯ ;นามีบุคส์ ,2540.
รัตนาภรณ์ อิทธิไพสิฐพันธุ์.คู่มือวิทยาศาสตร์ ม.1.กรุงเทพ ฯ:นิยมวิทยา,2543.
รัตนาภรณ์ อิทธิไพสิฐพันธุ์และคณะ.วิทยาศาสตร์ ว 203.กรุงเทพฯ ;นิยมวิทยา,2543.
รัตนาภรณ์ อิทธิไพสิฐพันธุ์และคณะ.วิทยาศาสตร์ ว 204.กรุงเทพฯ ;นิยมวิทยา,2543.
รัตนาภรณ์ อิทธิไพสิฐพันธุ์และคณะ.วิทยาศาสตร์ ว 205.กรุงเทพฯ ;นิยมวิทยา,2543.
วีรวรรณ มหาวีโรและคณะ ,วิทยาศาสตร์บรรยาย ม.ต้น.กรุงเทพ ฯ:สำนักพิมพ์แม็คจำกัด,2540.
อุษณีย์ ยศยิ่งยวด ,รศ.ดร.และคณะผู้แปล.ชีววิทยา.กรุงเทพฯ;นามีบุคส์,2543.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น